Tuesday, December 4, 2018

สุขศึกษา-พละ

ส่วนประกอบของสมอง

D-100003618
สมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
สมองส่วนหน้า (Forebrain)   มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้
  • ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) – อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ – ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
  • ซีรีบรัม (Cerebrum) – มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
  1. Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
  2. Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
  3. Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
  4. Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
  • ทาลามัส (Thalamus) – อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
  • ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) – ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
สมองส่วนกลาง (Midbrain)  เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
สมองส่วนท้าย (Hindbrain)  ประกอบด้วย
  • พอนส์ (Pons) – อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง
  • เมดัลลา (Medulla) – เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จามสะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
  • ซีรีเบลลัม (Cerebellum) – อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

    วิธีการ ตีปิงปอง

    เทเบิลเทนนิส หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปิงปอง เป็นเกมน่าตื่นเต้นที่สามารถเล่นได้สองคนหรือสี่คน แม้กระทั่งคนที่เล่นเพื่อพักผ่อนก็สามารถพัฒนาฝีมือขึ้นมาให้คล่องได้อย่างเร็ว ปิงปองในระดับมืออาชีพแข่งกันนั้นชวนให้ติดตามชม บทความนี้จะแนะนำกฎพื้นฐานของปิงปองรวมทั้งเคล็ดลับน่ารู้เพื่อชัยชนะ


Monday, December 3, 2018

นาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย

เป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีของไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละภาค


นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะกำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่าง ๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น นาฏศิลป์ไทยยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย เช่น วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวรรณกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้าและตำนานการฟ้อนรำโดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมคือผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย เช่น ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราชที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของพระอิศวร ซึ่งมีทั้งหมด 108 ท่า หรือ 108 กรณะ โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก ฌ ตำบลจิทรัมพรัม เมืองมัทราส อินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดูนับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนีเรียกว่าคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสานและถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฏศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่สมันกรุงศรีอยุธยาตารมประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฏราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบันประวั
ติ

Saturday, December 1, 2018

คริสต์ศาสนา

ศาสนาคริสต์ (อังกฤษChristianityราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ  ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อยหลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม
คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียก "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศความเชื่อนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และไว้วางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาปพวกเขายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา นิกายส่วนใหญ่สอนว่าพระเยซูจะกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่สาวกของพระองค์ พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.4 พันล้านคนทั่วโลกคิดเป็นประมาณ 33% หรือหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ
ศีลศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนคาทอลิก มี 7 ประการ คือ
โดย... บาทหลวง เปโตร ประชาชาติ ปรีชาวุฒิ

1. ศีลล้างบาป ( Baptism ) หรือศีลจุ่ม

          เป็นเครื่องหมายภายนอกที่มาจากความเชื่อภายใน เพื่อเป็นการชำระหรือลบล้างบาปกำเนิด อาศัยการช่วยให้รอดขององค์พระเยซูคริสตเจ้า   เครื่องหมายที่สำคัญ คือ น้ำ และการชำระล้างพร้อมกับคำกล่าวว่า "ข้าพเจ้าล้างท่าน ในพระนามของพระบิดา และพระบุตร และพระจิต"
           ผลของศีลล้างบาป ทำให้เราได้รับพระหรรษทานได้กลับเป็นลูกของพระ มีเกียรติและศักดิ์ศรีสมบูรณ์แบบ เพื่อดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายของความศักดิ์สิทธิ์ทั้งในชีวิตนี้และชีวิต นิรันดรในสวรรค์


2. ศีลกำลัง ( Confirmation ) หรือ การยืนยัน

          การรับศีลกำลังจึงเป็นการยืนยัน เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึง "การบรรลุนิติภาวะทางความเชื่อ" หรือความศรัทธา คือการพัฒนาเติบโต มีกำลัง เข้มแข็งในความเชื่อ สามารถเป็นพยานถึงความเชื่อ ทั้งด้วยความคิด คำพูด และการปฏิบัติ
เครื่องหมายสำคัญของศีลกำลัง คือ การปกมือ และการเจิมน้ำมัน คริสมาที่หน้าผาก
         ผลของศีลกำลัง คือ การได้รับพระคุณของพระจิต 7 ประการ ได้แก่
                2.1 พระดำริ หรือปรีชาญาน ให้เราได้สามารถเข้าใจถึงน้ำพระทัยของพระที่มีต่อเราอย่างผู้ที่ฉลาด
                2.2 สติปัญญา ให้เราได้สามารถเข้าใจถึงความลึกลับ และความจริงของข้อคำสอน
                2.3 ความคิดอ่าน ให้เรารู้จักแยกแยะ วิเคราะห์ ตัดสิน และปฏิบัติอย่างเหมาะสมถูกต้อง
                2.4 พละกำลัง ให้เรามีพลังที่จะต่อสู้กับความยากลำบาก และการถูกประจญ
                2.5 ความรู้ ให้เราสามารถมีความเข้าใจในคำสอน และข้อความเชื่อทั้งทางโลกและทางธรรม
                2.6 ความศรัทธา ให้เรามีความรัก เลื่อมใสศรัทธา ผูกพัน และวางใจในพระเสมอ
                2.7 ความยำเกรงพระเจ้า ให้เรามีความเคารพ ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อหน้าพระเสมอ
                สำหรับผู้โปรดศีลกำลังนั้น โดยปกติจะเป็นพระสังฆราชประจำท้องถิ่น    

3. ศีลอภัยบาป ( Penance ) หรือ การคืนดี

          เพราะว่าเรามนุษย์มีความอ่อนแอ และง่ายต่อการตกอยู่ในบาป ผิดพลาดไปได้ ทำให้สูญเสียชีวิตพระหรรษทาน และอยู่ในสภาพของบาป ดังนั้น ศีลอภัยบาป เป็นการคืนดีกับพระและเพื่อนพี่น้อง มีความเสียใจ และตั้งใจที่จะกลับคืนดี เริ่มต้นชีวิตใหม่ในพระหรรษทานของพระต่อไป
           เครื่องหมายสำคัญ คือ การเป็นทุกข์เสียใจ และตั้งใจจะกลับคืนดีกับพระ และเพื่อนพี่น้อง เพื่อเป็นเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ โดยการไปสารภาพบาปกับพระสงฆ์ผู้เป็นคนกลางของพระ และตัวแทนของพระศาสนจักร
           ผลของศีลอภัยบาป คือ ทำให้ผู้รับได้กลับคืนดีกับพระ และอยู่ในชีวิตพระหรรษทาน สำนึกถึงความรักของพระ และตั้งใจที่จะปรับปรุงแก้ไข เริ่มต้นใหม่ให้สมกับความเป็นลูกของพระในความครบครัน เป็นอิสระจากบาป มีความบริสุทธิ์ และมีสันติในจิตใจ

4. ศีลมหาสนิท ( Eucharistic; Communion) หรือพิธีขอบพระคุณ

          เป็นศูนย์กลางของชีวิตคริสตชน เป็นศีลที่สำคัญที่สุด เป็นองค์พระเยซูเจ้าเองที่ประทับอยู่ในศีลมหาสนิทที่เข้ามาสนิทสัมพันธ์เป็น หนึ่งเดียวในความรักของพระองค์ เราทุกคนจึงเป็นหนึ่งเดียวกันในครอบครัว เป็นสมาชิกหรือส่วนต่างๆในพระกายทิพย์ของพระองค์
           เครื่องหมายที่สำคัญ คือ แผ่นปังและเหล้าองุ่น ที่เป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า เราได้รับจากพระสงฆ์ หรือผู้แทนของพระศาสนจักร ในบูชามิสซา หรือพิธีขอบพระคุณ
           ผลของศีลมหาสนิท ทำให้เราได้รับพระหรรษทาน ดำรงอยู่ในชีวิตพระเสมอไป

5. ศีลสมรส ( Matrimony ) หรือศีลกล่าว

          เป็นความรักที่ ชายและหญิงมีต่อกัน และพร้อมที่จะกล่าวประกาศว่าเขาทั้งสองรักกัน ด้วยความสมัครใจ มีอิสระอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้ถูกบังคับ และพร้อมที่จะร่วมชีวิตคู่ เพื่อเป็นของกันและกัน เป็นหนึ่งเดียวในความรักที่หย่าร้างไม่ได้ ที่จะซื่อสัตย์ต่อกันจนตลอดชีวิต เพื่อเป็นเครื่องหมาย เป็นพยานถึงความรักของพระ และพร้อมที่จะมอบครอบครัวใหม่ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพระ
           เครื่องหมายสำคัญ คือ คำกล่าวของคู่บ่าวสาว ต่อหน้าพระสงฆ์ผู้แทนของพระศาสนจักร รวมทั้งบรรดาสักขีพยานว่าเขาทั้งสองรักกันและจะซื่อสัตย์ต่อกันจนกว่าชีวิต จะหาไม่
           ผลของศีลสมรส ทำให้คู่บ่าวสาวเป็นสามีภรรยาอย่างถูกต้องต่อหน้าพระ และต่อพระศาสนจักร อยู่ในชีวิตพระหรรษทาน และเป็นครอบครัวคริสตชนใหม่ที่พร้อมจะให้กำเนิดบุตร อบรมเลี้ยงดูในชีวิตคริสตชน เป็นพยานประกาศความรักของพระในความสมบูรณ์ครบครันของชีวิตครอบครัวของเขา เพื่อช่วยกันและกันในความบกพร่อง หรือที่ขาดไปให้แก่กันและกัน ทั้งนี้คู่บ่าวสาวจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของพระศาสนจักรเพื่อความดีและ ความรอดของวิญญาน

6. ศีลบวช ( Holy Orders ) หรือการถวายตัว

          ผู้ที่จะสมัครบวช หรือถวายตัวแด่พระ เป็นพระพรแห่งกระแสเรียกที่พระทรงเรียก และเลือกบุคคลหนึ่งให้ดำเนินชีวิต และมีภารกิจในการเป็นศาสนบริการ ผู้แทนสงฆ์ของพระคริสตเจ้า ในการประกาศสอนคำสอน การประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ และการปกครองดูแลหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชน
           เครื่องหมายสำคัญ คือ การปกมือของพระสังฆราชเหนือผู้รับศีลบวช ตลอดจนการเจิมน้ำมันคริสมา เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงการประทานองค์พระจิตเจ้า เป็นการอภิเษก และมอบอำนาจของการเป็นสงฆ์แห่งศาสนบริกร เพื่อต่องานขององค์พระคริสตเจ้า และการถูกส่งไปเพื่อรับใช้เป็นผู้ประกาศข่าวดีแห่งความรอด
           ศีลบวช มีลำดับ 3 ขั้น คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร

7. ศีลเจิมคนไข้ ( Anointing of the Sick ) หรือสำหรับผู้ป่วย

          มิใช่เป็นศีลทาสุดท้าย และจะต้องตาย แต่เป็นศีลที่โปรดให้สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนกำลัง ในสภาพที่น่าเป็นห่วง หรือกำลังจะสิ้นใจ เพื่อเขาจะได้รับพระหรรษทานในยามเจ็บป่วย และเป็นการเตรียมจิตใจให้ยึดมั่นในความเชื่อ และเพื่อการฟื้นฟูสภาพทั้งกายและจิตใจ
           เครื่องหมายสำคัญ คือ การเจิมน้ำมันที่หน้าผาก และฝ่ามือทั้งสองข้าง เพื่อให้ผู้รับจะได้อยู่ในชีวิตพระหรรษทาน และเข้มแข็งมั่นคงในความเชื่อ พร้อมที่จะยอมรับความเจ็บปวด และเห็นถึงพระพรในยามเจ็บป่วย มีส่วนร่วมในพระทรมาน และการกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้า

           ดังนั้น ควรจะให้ผู้ป่วยได้รับในขณะที่รู้ตัว เพื่อการเตรียมจิตใจได้อย่างดี ทั้งนี้ผู้รับก็จะสามารถรับศีลอภัยบาป และศีลมหาสนิท ซึ่งถือว่าเป็นศีลเสบียงที่ให้สำหรับผู้ป่วย เพื่อเป็นการเตรียมกลับไปหาพระเป็นเจ้าในสภาพของชีวิตพระหรรษทานในความพร้อม ของผู้ป่วย

แนะแนว

การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สร้างเสริมให้เขามีคุณภาพเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน มีทักษะการดำเนินชีวิต มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม รู้จักการเรียนรู้ในเชิงพหุปัญหา รู้จักคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในช่วงวิกฤติ วางแผนการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวได้อย่างมีความสุขในชีวิตได้พัฒนาตนเองให้ถึงขีดสุด ในทุกด้าน

ลูกเสือ เนตรนารี

เงื่อนพิรอด
เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่าย
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
        2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ
        3. ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า
        4. ผูกเชือกรองเท้า ผูกโบ
เงื่อนพิรอด

เงื่อนขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์ในการต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน หรือขนาดเท่ากัน โดยใช้เส้นใหญ่ทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์ 
         1. ใช้ต่อเชือกขนาดต่างกัน หรือขนาดเดียวกันก็ได้
         2. ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน (เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
         3. ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
         4. ใช้ผูกเชือกกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นขอหรือหูอยู่แล้ว เช่น ธงชาติ
         5. ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า
เงื่อนขัดสมาธิ

เงื่อนบ่วงสายธนู
เงื่อนบ่วงสายธนู เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่
 ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลัก
           เพราะสามารถหมุนรอบได้
        2. ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง
        3. ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู
        4. ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้
        5. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน



ภาษาจีน

สีในภาษาจีน

คำว่า สีในภาษาจีน  ซึ่งคำนี้จะถูกวางไว้ข้างหลังของคำศัพท์สีทุกสีนั่นเอง
ในบทเรียนนี้เราจะมาทำความรู้จักสีสันต่าง ๆ ในภาษาจีน ว่าเขียนและพูดอย่างไร

红色 อ่านว่า หงเซ่อ (hóng sè) แปลว่า สีแดง

绿色 อ่านว่า ลวี่เซ่อ (lǜ sè) แปลว่า สีเขียว

白色 อ่านว่า ไป๋เซ่อ (bái sè) แปลว่า สีขาว

黑色 อ่านว่า เฮยเซ่อ (hēi sè) แปลว่า สีดำ

蓝色 อ่านว่า หลานเซ่อ (lán sè) แปลว่า สีฟ้า , สีน้ำเงิน

黄色 อ่านว่า หวงเซ่อ (huáng sè) แปลว่า สีเหลือง

橙色 อ่านว่า เฉิงเซ่อ (chéng sè) แปลว่า สีส้ม

棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล

棕色 อ่านว่า จงเซ่อ (zōngsè) แปลว่า สีน้ำตาล

เสื้อผ้า

ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
คำศัพท์พินอินคำอ่านความหมาย
制服zhìfúจื้อฝูเครื่องแบบ
男装nánzhāngหนานจวงชุดผู้ชาย
女装nǚzhuāngหนี่จวงชุดผู้หญิง
长袖衣chángxiùyī      ฉางซิ่วอี       เสื้อแขนยาว
短袖衣duǎnxiùyīต่วนซิ่วอีเสื้อแขนสั้น
短上衣duǎnshàngyīต่วนซ่างอีเสื้อแจ็กเก็ต
短裤duǎnkùต่วนคู่กางเกงขาสั้น

裙子qúnziฉุนจื่อกระโปรง
裤子kùziคู่จื่อกางเกง


เงิน=钱


พยัญชนะ วิธีการออกเสียง วิธีการออกเสียง(ฟัง)
b

p

m

f

d เตอ

tเทอ

nเนอ
lเลอ
gเกอ
kเคอ
hเฮอ
jจี
qชี
xซี
zจือ
cชือ
sซือ
zhจรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
chชรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
shซรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)
rยรือ(อ่านเป็นเสียงเดียว)

yยี
wอู

เสียงสระ 韵母 ทั้ง 36 เสียงของภาษาจีน

1.สระเดี่ยว มี 6 เสียง

สระเดี่ยว วิธีการออกเสียงวิธีการออกเสียง(ฟัง)
aอา
oโอ
eเออ
iอี
uอู
üอวี(อ่านเป็นเสียงเดียว)

2.สระผสม มี 30  เสียง

  • a) ai ao an ang
  • o) ou ong
  • e) er ei en eng
  • i) ia iao ie iu ian in iang ing iong
  • u) ua uo uai ui uan un uang ueng
  • ü) üe üan ün

วิธีการผสมเสียง(พยัญชนะ+สระ)


วิธีการผสมเสียงต้องประกอบด้วย พยัญชนะ + สระ + เสียงวรรณยุกต์(เรียนในบทต่อไป)
  1. พยัญชนะ รวมกับ สระเดี่ยว 1 ตัว(พยัญชนะจะไฮไลท์สีชมพู) เช่น
  • P + a = Pa
  1. พยัญชนะ รวมกับ สระผสม เช่น
  • สระผสม 2 ตัว เช่น bai gei hao tou ฯลฯ
  • สระผสม 3 ตัว เช่น bang teng tong ฯลฯ
  • สระผสม 4 ตัว เช่น xiong liang lieng ฯลฯ

*ข้อควรระวัง*

แม่สะกดในภาษาจีนที่ต้องตามหลังเสียงสระ  ก็มีน้า! (อันนี้ไม่ต้องคิดมาก ใช้บ่อยๆเดี๋ยวก็เป็นเอง)
  • -n เหมือนแม่กนและกงในภาษาไทย
  • -ng  เหมือนแม่กง
  • r  มีไว้แสดงเสียงเอ้อ ต้องเอาปลายลิ้นงอขึ้นไปแตะที่เพดานปาก
  1. สระ u อู(อู) ไม่ใช้กับพยัญชนะ y, j, q, x
  2. สระ ü อวี
    -ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ y, j, q, x จะต้องตัดจุดสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü ออกไป เช่น ü –> yu üe –> yue
    -ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ l, n จะละสองจุดไม่ได้ ไม่นั้นจะไปซ้ำกับเสียงu (อู) ทำให้เกิดการสับสนได้
  1. สระ er เช่น 兒 เมื่อทำหน้าที่เป็นสระต่อท้าย จะเขียนพินอินแค่ r เท่านั้น เช่น 一點兒 yīdiǎnr

10201 ธนภรณ์ อึงฤทธิเดช tnanaphos-blog.blogspot.com 10202 ศุภกร เหลืองอ่อน Suphakon3058.blogspot.com 10203 เปมิกา ถิ่นวัฒนากลู pemika2...