เซลล์ คือ หน่วยย่อยพื้นฐานที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต
- เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ...
- นิวเคลียส (Nucleus) ...
- ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) ...
- ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum, ER) ...
- ไรโบโซม (Ribosome) ...
- เซนทริโอล (Centrioles) ...
- ไลโซโซม (Lysosome) ...
- ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์[แก้]
- ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ มีรูปร่างสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ที่ฐานจะมีปุ่มสำหรับปิดเปิดไฟฟ้า
- แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน ใช้เป็นที่จับเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์
- ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่าง ๆ ติดอยู่กับจานหมุนที่เรียกว่า Revolving Nosepiece
- ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
- ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
- เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
- เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
- เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
- กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
- ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
- แท่นวางวัตถุ (Speciment Stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
- ที่หนีบสไลด์ (Stage Clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกยิ่งขึ้น
- จานหมุน (Revolving nosepiece) ใช้หมุนเมื่อต้องการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ
- สสาร
- สสารมี๓สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว แก๊ส
- ของแข็ง (Solid)
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ชิดกัน มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย อนุภาค ของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ยาก ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างคงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก สสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น หิน นั้าแข็ง
- ของเหลว (Liquid)
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง จึงอยู่กันอย่างหลวมๆ อนุภาคของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ สสารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำ ฝน เป็นต้น
- ก๊าซ (Gas)
คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน จึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ทำ ให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อสสารอยู่ในภาชนะใดอนุภาคของสสารจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะสสารที่มีสถานะเป็นก๊าซ เช่น อากาศ ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
- พลาสมา(Plasma)
คือ สถานะของสารที่มีอนุภาคแตกกระจาย จึงเกิดการกระจายไปมาของอนุภาค ทำให้อนุภาคเคลื่อนไหวแบบรวดเร็ว ดังนั้นสสารจึงมีรูปร่างที่ไม่เน่นอน สสารนี้จะสลายไปอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น
การเปลี่ยนแปลงสถานะ[แก้]
การเปลี่ยนแปลงของสารจากสถานะของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว อุณหภูมิขณะนั้นจะคงที่เรียนกว่า จุดหลอมเหลว
การเปลี่ยนสถานนะของสารจากของเหลวกลายเป็นไอ เรียกว่า การเดือด อุณหภูมิขณะนั้นจะคงที่เรียกว่า จุดเดือด
การเปลี่ยนแปลงสถานะในแต่ละรูปแบบ มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- การระเหย
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นก๊าซ โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆได้รับพลังงานหรือความร้อน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนสถานะเป็น ไอน้ำ
- การระเหิด
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นก๊าซ โดยไม่ผ่านสถานะการเป็นของเหลว ได้แก่ น้ำแข็งแห้ง เปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด
- การควบแน่น
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากก๊าซ กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อก๊าซนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ ไอน้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ
- การแข็งตัว
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง โดยของแข็งนั้น สามารถเปลี่ยนสถานะกลับเป็นของเหลวได้ โดยการได้รับพลังงานหรือความร้อน
- การตกผลึก
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยมักเกิดเมื่อของเหลวนั้นๆ สูญเสียความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำ เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำแข็ง แต่โดยทั่วไปแล้ว ตกผลึกนั้นนิยมใช้ กับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทางทางเคมี เสียมากกว่า เพราะโดยทั่วไปใช้กับสารประกอบหรือวัตถุ ที่ไม่สามารถหลอมเหลว หรือ ละลาย กลับเป็นของเหลวได้อีก
- การหลอมเหลว หรือการละลาย
คือกระบวนการการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร จากของแข็ง กลายเป็นของเหลว โดยมักเกิดเมื่อของแข็งนั้นๆ ได้รับความร้อนหรือพลังงาน ได้แก่ น้ำแข็ง เปลี่ยนแปลงสถานะเป็น น้ำ
-
พืชนอกจากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้วยังสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เช่น
1. การขยายพันธุ์ด้วยลำต้น เช่นพืชที่มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหาร ได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้น แห้ว เผือก หอม กระเทียม มันฝรั่ง ว่านสี่ทิศ
2. การขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง โดยการปักชำ ตอน ติดตา ทาบกิ่ง หรือเสียบยอด เช่น ชบา พู่ระหง มะละ โกสน กุหลาบ พุทรา มะม่วง ดาวเรือง ฤาษีผสม
3. การขยายพันธุ์ด้วยราก มักเป็นรากชนิดที่สะสมอาหาร เช่น มันเทศ
4. การขยายพันธุ์ด้วยใบ เช่นใบคว่ำตายหงายเป็น ใบต้นทองสามย่าน ใบของต้นโคมญี่ปุ่น
วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศ
1. การปักชำหรือการตัดชำ (cutting หรือ cottage) กิ่งหรือรากที่ใช้ต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไปใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งคมๆ ตัดกิ่งออกเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 10 -20 ซม. โดยตัดให้เป็นปากฉลามใต้ตา เอาใบออกหมด แล้วนำไปชำในกระบะชำ โดยปักให้เอียง 45 – 70 องศา และลึก 1 ใน 3 ของกิ่ง นำกระบะชำไปวางในเรือนเพาะชำรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมื่อกิ่งชำหรือรากชำมีรากพอสมควรก็แยกไปปลูกต่อไป ในการชำนั้นถ้าใช้ฮอร์โมน เช่น เซราดิกซ์ (seradix) เร่งก็จะทำให้งอกรากได้เร็วขึ้น
การยายพันธุ์โดยการชำนี้ใช้ได้ทั้งไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับ ที่นิยมกัน คือ ส้ม ชมพู่ กุหลาบ เฟืองฟ้า โกสน ชบา มะลิ อ้อย สาเก
2. การตอน (marcotting) การตอนไม้ผลจะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเหมือนต้นแม่ทุกประการ เพราะมียีนชุดเดียวกัน ไม่มีการกลายพันธุ์ ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด แต่มีข้อเสียตรงที่กิ่งตอนไม่มีรากแก้ว ถ้าลมแรงหรือดินอ่อน อาจล้มโค่นง่าย ทำให้ต้นไม้มีอายุสั้นกว่าการปลูกด้วยเมล็ด
3. การติดตา (budding) ประกอบด้วย
ต้นตอ ต้นตอควรเป็นต้นที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ต้านทานสภาพดินฟ้า อากาศ และโรคได้ดี ไม่เป็นที่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ต้องลอกเปลือกออกง่ายเมื่อผ่าเปลือกต้นตอ
ต้นพันธุ์ ต้นพันธุ์ดีที่มีตาสมบูรณ์ ตาดีและสมบูรณ์หาได้มากในฤดูฝน ตาดีต้องมาจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปและตาต้องแตกใหม่ๆ ใช้มีดคมๆ ปาดตาให้บางๆ ให้เนื้อไม้ติดไปกับตาน้อยที่สุดและเอาเนื้อไม้ที่ติดมาด้วยทิ้งเสียก่อน
ภาพที่ 1 ขั้นตอนการติดตา
4.การทาบกิ่ง (layering หรือ layerage) ประกอบด้วย
ต้นตอ ของการทาบกิ่งมีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นตอแบบติดตา
กิ่งพันธุ์ ควรมีขนาดเท่าๆ กับต้นตอ กิ่งพันธุ์นี้ต้องเป็นพันธุ์ดีให้ผลดกและขนาดสม่ำเสมอ รสดี
เมื่อเลือกกิ่งพันธุ์และต้นตอได้แล้ว นำต้นตอและกิ่งพันธุ์มาเทียบกัน ปาดต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้เป็นแผลขนาดพอเหมาะและเท่าๆ กัน นำแผลทั้งสองมาทาบกันให้สนิทพอดี ใช้เชือกหรือพลาสติกมัดติดกันให้แน่นตลอดแผลที่ปาดเมื่อทาบติดแล้ว ใช้มีดคมๆ หรือกรรไกรตัดยอดต้นตอทิ้งได้เลย ถ้าหากชำนาญแล้วอาจตัดยอดต้นตอทิ้งตอนแรกเลยก็ได้ การที่ไม่ตัดเลยก็เพื่อไม่ให้เสียต้นตอในกรณีทาบไม่ติด
5. การต่อกิ่งหรือเสียบกิ่ง (grafting) ซึ่งอาจต่อแบบปะ ต่อแบบปากฉลาม ต่อแบบเสียบข้างและต่อแบบลิ่ม ในการต่อกิ่งหรือเสียบกิ่ง ประกอบด้วย
ต้นตอ ของการต่อกิ่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับต้นตอการติดตา
กิ่งต่อ ควรเลือกกิ่งที่มียอดที่เจริญจวนจะผลิใบอ่อนออกมาใหม่และกิ่งต่อต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไป กิ่งต่อต้องเป็นพันธุ์ดี เช่นเดียวกับกิ่งพันธุ์ของการทาบกิ่ง และมีขนาดเล็กกว่าต้นตอเล็กน้อย
วิธีการต่อกิ่ง โดยตัดยอดต้นตอออกใช้มีดผ่าต้นตอให้เป็นร่องลึก 1 -2 นิ้ว กิ่งต่อที่เตรียมไว้นำมาปาดให้เป็นรูปลิ่มเสียบกิ่งต่อเข้าไปในแผลที่ผ่าไว้ให้สนิทกันพอดี เพื่อกันไม่ให้เคลื่อนหรือโยกไปมาได้ เพราะถ้าหากเคลื่อนได้จะทำให้ไม่ติดหรือไม่ประสานกันต่อจากนั้นใช้พลาสติกพันตามรอยแผลและพันให้เลยขึ้นไปเหนือกิ่งต่อเล็กน้อย ต้องพันให้แน่นและแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในแผลที่ต่อกิ่ง
รูปที่ 2 แสดงการต่อกิ่ง
6. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการขยายพันธุ์ที่มีประโยชน์มาก คือ
1.สามารถขยายพันธุ์พืชได้ในปริมาณมากและรวดเร็วโดยใช้พืชเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย
2.พืชใหม่ที่ได้มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมไม่กลายพันธุ์
3.ใช้ได้ดีในพืชเศรษฐกิจหรือพืชปกติที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ยาก
เทคนิควิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีข้อจำกัด คือ ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญมากเป็นพิเศษ ต้องใช้เครื่องมือ สารเคมี อุปกรณ์ต่างๆ และวิธีการที่ยุ่งยากละเอียดอ่อนจึงยังไม่แพร่หลายมากนัก
วิธีการในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องทำในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อหรือปราศจากจุลินทรีย์ทุกขั้นตอน อุณหภูมิที่พอเหมาะคือ 23 – 28 องศาเซลเซียส และแสงสว่างที่ให้กับเนื้อเยื่อประมาณ 1,000 – 2,000 ลักซ์ โดยเลี้ยงในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ขั้นตอนในการเลี้ยงเนื้อเยื่อมีดังนี้
1.นำชิ้นส่วนของพืชมาตัดแบ่งแล้วนำไปฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวของพืชเสียก่อน
2.นำมาเลี้ยงในขวดอาหารตามสูตรที่เหมาะสมโดยอาหารจะประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อพืช มีสารพวกน้ำตาล วิตามิน สารควบคุมการเจริญเติบโตต่างๆ เช่น ออกซิน(auxin) ไซโทไคนิน(cytokinin) เพื่อให้เนื้อเยื่อแบ่งเซลล์และเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างได้ดี
3.เมื่อเจริญเป็นต้น ราก หรือเจริญเป็นแคลลัส (callus) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเซลล์พวกพาเรงคิมาและมีขนาดใหญ่แล้วตัดแบ่งแคลลัสออกเป็นชิ้นเพื่อเพิ่มจำนวนหรือถ้าเจริญเป็นต้นแล้วก็แยกต้นไปเลี้ยงในอาหารใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนเรื่อยๆ
4.เมื่อเป็นต้นแล้วก็ชักนำให้งอกราก เมื่อเจริญเป็นต้นที่แข็งแรงดีแล้วก็แยกออกจากขวดเลี้ยงลงปลูกในดินต่อไป
เมล็ดเทียม (artificial seed) คือเมล็ดที่พัฒนามาจากหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตเมล็ดเทียมทำได้โดยการนำเนื้อเยื่อของพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาทำเป็นเอ็มบริโอเทียม เรียกว่า
โซมาติกเอ็มบริโอ (somatic embryo) แทนไซโกติกเอ็มบริโอ (zygotic embryo) ซึ่งเกิดจากการปฏิสนธิ เอ็มบริโอเทียมหรือโซมาติกเอ็มบริโอจะนำมาห่อหุ้มด้วยสารอาหารเพื่อทำหน้าที่แทน
เอนโดสเปิร์ม ด้านนอกสุดห่อหุ้มด้วยสารที่แข็งแรงซึ่งทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มเมล็ด ช่วยคุ้มครองส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ข้างใน วิธีนี้ใช้ขยายพันธุ์พืชบางชนิดได้ เช่น ข้าว หน่อไม้ฝรั่ง ยาสูบ แครอท
ภาพที่ 3 ขั้นตอนการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
|